3 ทำความเข้าใจกับปฏิทินเซี่ย

หยินหยางและธาตุทั้งห้า คือทฤษฎีพื้นฐานในการทำความเข้าใจโลก ในบทที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่าธาตุต่างๆ ทั้งห้านั้นมีผลกระทบต่อทุกสิ่งในชีวิตเรา ธาตุทั้งห้าเป็นองค์ประกอบของสสารทั้งหลายและมีอยู่ในทุกที่รอบตัวเรา ทฤษฎีจตุสดมภ์แห่งโชคชะตาคือการทำความเข้าใจโชคชะตาของเราผ่านทางการศึกษาว่าธาตุทั้งห้าในจักรวาลส่งผลกระทบต่อธาตุทั้งท้า

ที่มีอยู่ในตัวเราทุกคนอย่างไร ในบทนี้จะเป็นการแนะนำเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจว่าธาตุอะไรที่มาจากจักรวาลภายนอกและธาตุอะไรที่อยู่ในจักรวาลภายในของเราซึ่งก็คือภายในร่างกายของเรา

 

จักรพรรดิเหลืองเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือดังกล่าวในปี 2697 ก่อนคริสต์ศักราช เขาเป็นผู้จัดตั้งระบบปฏิทินที่แสดงธาตุต่างๆ ในรูปแบบของกลุ่มตัวอักษรจีนสองกลุ่มที่เรียกว่า กิ่งสวรรค์ และก้านดิน ตารางข้างล่างนี้แสดงให้เห็นตัวอักษรจีนที่เป็นปัจจัยสำคัญทั้ง 22 ตัว ซึ่งทั้งหมดนี้ที่จริงแล้วคือธาตุต่างๆ และปฏิทินนี้แสดงให้เห็นว่าธาตุอะไรเด่นในช่วงเวลา ปี เดือน วัน และชั่วโมงใด

 

 

ตารางกิ่งสวรรค์และก้านดิน

 

ระบบปฏิทินที่แสดงกิ่งสวรรค์และก้านดินนี้รู้จักกันในชื่อว่าปฏิทินเซี่ย เนื่องจากคิดค้นขึ้นมาใช้ในช่วงสมัยราชวงศ์เซี่ย ประมาณปี 2100 ถึง 1600 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวจีนยังเรียกปฏิทินนี้ว่าปฏิทินชาวนา เพราะเป็นปฏิทินระบบสุริยคติที่ชาวไร่ชาวนาสามารถใช้อ้างอิงเพื่อวางแผนการเพาะปลูกโดยดูจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงในฤดูกาลทั้งสี่

 

ตรงจุดนี้เองที่จำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อยเกี่ยวกับระบบปฏิทิน หลายๆ คนยังคงมีความเข้าใจที่ผิดว่าปฏิทินจีนนั้น มีแต่ปฏิทินจันทรคติเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะชาวจีนมักจะประกอบพิธีเฉลิมฉลองอย่างใหญ่โตในวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติที่จริงแล้วชาวจีนมีปฏิทินสองระบบคือปฏิทินสุริยคติและปฏิทินจันทรคติ ปฏิทินสุริยคติคือระบบที่นับการโคจรของโลก รอบดวงอาทิตย์เท่ากับหนึ่งปี ส่วนปฏิทินจันทรคติคือระบบที่นับวงโคจรรอบโลกของดวงจันทร์เท่ากับหนึ่งเดือน หรือหนึ่งจันทร์เพ็ญ สิบสองรอบวงโคจรเท่ากับหนึ่งปีจันทรคติ

 

 

ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดฤดูกาลทั้งสี่ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมหาศาลต่อชีวิตมากกว่าดวงจันทร์ ในขณะที่ดวงจันทร์มีอิทธิพลแต่ไม่ลึกซึ้งและไม่สำคัญเท่ากับดวงอาทิตย์ เพราะเหตุนี้การศึกษาเชิงอภิปรัชญาของจีนจึงต้องใช้ปฏิทินสุริยคติ และแน่นอนว่าชาวนาต้องใช้ปฏิทินสุริยคติสำหรับวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ ที่อิงอยู่บนพื้นฐานของฤดูกาลทั้งสี่ ปฏิทินจันทรคติมีความสำคัญกับเฉพาะบางประเพณี เช่น วันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ (ตรุษจีน) ประเพณีไหว้พระจันทร์ ฯลฯ

 

 

ปฏิทินสุริยคติมีความแม่นยำกว่า เพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 365.5 วัน ดังนั้นปีทางสุริยคติจึงค่อนข้างมีความสม่ำเสมอ ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณ 29 วัน หลังจากครบรอบวงโคจร 12 รอบจะใช้เวลาไปประมาณ 350 วัน


ดังนั้นทุก ๆ ปีจะมีความคลาดเคลื่อนกันระหว่างปีทางจันทรดติและปีทางสุริยคติ หลังจากผ่านไปสองสามปี ความแตกต่างกันนี้จะขยายกว้างขึ้นจนมากพอที่จะเพิ่มเดือนพิเศษเข้าไปอีกเดือนหนึ่งในปฏิทินจันทรคติ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องเพิ่มเดือนที่ 13 ลงไปในปฏิทินจันทรคติเพื่อให้เท่ากันกับระบบสุริยคติ เราจะเห็นได้ว่าปฏิทินจันทรคติไม่เป็นไปตามธรรมชาติและกฎเกณฑ์ ทั้งยังไม่ใด้สะท้อนอิทธิพลของธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์อย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้สาขาวิชาอภิปรัชญาเกือบทั้งหมดของจีนรวมไปถึงฮวงจุ้ย จตุสดมภ์แห่งโชคชะดา อี้จิง ทั้งหมดล้วนรับเอาปฏิทินสุริยคติเข้ามาใช้ ยกเว้นแต่โหราศาสตร์ดาวม่วงซึ่งนำปฏิทินจันทรคติมาใช้ประกอบการพยากรณ์

 

 

ปฏิทินเซี่ยให้ความสำคัญกับฤดูกาลทั้งสี่ ดังนั้นหนึ่งปีในปฏิทินเซี่ยจึงประกอบด้วยฤดูกาลครบทั้งสี่ฤดู วันเริ่มต้นของปีเช่นนี้ มักจะตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันที่เรียกว่า "การมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ" เพราะเป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ เช่นเดียวกับวันแรกของปีในปฏิทินเซี่ย เนื่องจากปฏิทินเซี่ยเป็นระบบสุริยคติเช่นเดียวกับปฏิทินเกรกอเรียนของทางตะวันตก

(ปฏิทินสากลที่ระบุว่าหนึ่งปีมี 365 - 366 วัน) ด้วยเหตุนี้เองเราจึงเทียบวันในปฏิทินตะวันตกกับจุดเวลาในปฏิทินเชี่ย

 

ส่วนวันเริ่มปีใหม่ตามจันทรคติจะไม่แน่นอนตายตัว แต่จะผันแปรไปในแต่ละปี บางครั้งตรงกับเดือนมกราคม และบางครั้งจะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ จึงไม่สามารถเทียบกับวันที่แน่นอนในปฏิทินตะวันตกได้ เพราะระบบดังกล่าวไม่ใช่ระบบปฏิทินสุริยคติและยังมีปัจจัยที่ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์เช่นการเพิ่มเดือนที่ 13 ในปีตามจันทรคติบางปีอีกด้วย เดือนที่เพิ่มขึ้นมานี้จะทำให้วันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติในปีถัดไปเลื่อนไปยังเดือนกุมภาพันธ์

 

ระบบ 12 นักษัตรซึ่งเป็นที่แพร่หลายที่จริงแล้วเป็นส่วนสำคัญในปฏิทินเซี่ย 12 นักษัตรมีความคล้ายคลึงกับ 12 ราศี ในโหราศาสตร์ตะวันตก ซึ่งเป็นการแบ่งราศี หรือสุริยวิถีตามการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เราจะดูเรื่องระบบ 12 นักษัตรอย่างละเอียดทีหลังในบทนี้ แต่ในจุดนี้มีประเด็นความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นบ่อยเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของปีนักษัตร หลายคนมักถือเอาวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติเป็นวันแรกของปีนักษัตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดโดยสิ้นเขิง จากที่ได้อธิบายไปข้างต้นนักษัตรก็เหมือนกับสัญลักษณ์จักรราศีที่แบ่งออกเป็น 12 ส่วนของสุริยวิถีซึ่งเป็นวงกลมสมมติที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นส่วนสำคัญในปฏิทินสุริยคติเท่านั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับปีใหม่ตามจันทรคติแต่อย่างใด ดังนั้นปีนักษัตรปีหนึ่งๆ

ควรจะเริ่มในวันที่ "ฤดูใบไม้ผลิมาเยือน" เสมอซึ่งตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์หรือโดยประมาณนั้นทุกๆ ปี 

 

ยกตัวอย่างเช่น ปีใหม่ ตามจันทรคติในปี 2006 (2549) ตรงกับวันที่ 29 มกราคม 2006 (2549) แต่เด็กที่เกิดระหว่างวันที่ 29 มกราคมถึง 4 กุมภาพันธ์ เวลา 7.29 นาฬิกาจะยังอยู่ในปีระกา ไม่ใช่ปีจอ ส่วนเด็กที่เกิดหลังเวลา 7.29 นาฬิกาในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2006 (2549) เท่านั้นที่นับว่าเป็นทารกปีจอ

 

องค์ประกอบพื้นฐานของปฏิทินเซี่ยคือตัวอักษรจีน 22 ตัวอักษรซึ่งเรียกว่ากิ่งสวรรค์และก้านดิน ข้อมูลแต่ละส่วนในปฏิทินนี้ได้แก่ ปี เดือน  วัน และยาม ซึ่งแสดงออกมาด้วยตัวอักษรจีนหนึ่งคู่โดยตัวหนึ่งอยู่ข้างบนอีกตัวหนึ่ง 

 

ตัวอักษรที่อยู่ด้านบนคือกิ่งสวรรค์ สื่อถึงอิทธิพลจากเบื้องบน สวรรค์ หรือที่ไกลจากโลกของเรา 

ตัวอักษรที่อยู่ด้านล่างเรียกว่าก้านดิน สื่อถึงอิทธิพลจากโลกที่เราอยู่ เนื่องจากตัวอักษรมักเขียนให้กึ่งสวรรค์อยู่ด้านบนและก้านดินอยู่ด้านล่างจึงทำให้เกิดเป็นรูปทรงแนวตั้ง 

เราจึงเรียกคู่อักษรลักษณะนี้ว่าสดมภ์ (เสา) ด้วยเหตุนี้ ข้อมูลการเกิดของบุคคลจึงประกอบด้วยสดมภ์ปี สดมภ์เดือน สดมภ์วัน และสดมภ์ยาม แต่ละสดมร์ประกอบด้วยตัวอักษรสองตัว ดังนั้นจึงมีตัวอักษรทั้งสิ้น 8 ตัวอักษร ซึ่งในภาษาจีน เรียกว่า "ปาจื้อ" (แปดอักขระ)

 

กิ่งสวรรค์มีทั้งสิ้น 10 ตัวอักษร ซึ่งประกอบตัวยธาตุทั้งห้าที่เรียงไปตามวงจรกำเนิด โดยแต่ละธาตุจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือหยางหนึ่ง และหยินหนึ่ง ยกตัวอย่างเข่น เริ่มจากธาตุไม้หยาง ตามด้วยธาตุไม้หยิน จากนั้นจะเป็นธาตุไฟหยาง และ ธาตุไฟหยิน เนื่องจากไม้สร้างไฟ จากนั้นจะเป็นธาตุดินหยาง และธาตุดินหยินเพราะไฟสร้างดิน จากนั้นจะเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ จนถึงคู่สุดท้ายคือธาตุน้ำหยาง และธาตุน้ำหยิน ซึ่งวนกลับไปเกื้อหนุนธาตุไม้หยางและธาตุไม้หยินในวงจรกิ่งสวรรค์วงจรใหม่

 

 

กิ่งสวรรค์คือพลังที่เราได้รับจากสวรรค์ และก้านดิน คืออิทธิพลที่เราได้รับจากโลก พลังที่เรารับจากโลกจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลทั้งสี่ ดังนั้นก้านดินจริงๆ แล้วคือการอ้างถึงธาตุต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละเดือน ก้านดินมีชื่อที่รู้จักกันทั่วไปคือ 12 นักษัตร และนักษัตรทั้ง 12 นี้มีความคล้ายคลึงกับ 12 ราศีของโหราศาสตร์ตะวันตกอย่างมาก นักษัตรทั้ง 12 เกิดขึ้นจากการแบ่งวงจรที่เรียกว่าสุริยวิถี หรือจักรราศีออกเป็น 12 ส่วนเท่าๆ กัน แต่ละส่วนมีสัดส่วน 30 องศา และแทนเดือนเดือนหนึ่ง ดังนั้นก้านดินทั้ง 12 ที่จริงแล้วคือสัญลักษณ์ของเดือนทั้ง 12 ของปีทางสุริยคติในปฏิทินเซี่ยนั่นเอง

 

ปีตามปฏิทินเซี่ยเริ่มเมื่อ "ฤดูใบไม้ผลิมาเยือน" ซึ่งมักตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ตามปฏิทินตะวันตก เดือนแรกของปีนี้ถือเป็นเดือนของนักษัตรขาล และมักจะกินช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ไปจนถึงประมาณวันที่ 5 มีนาคม จากนั้นเดือนถัดไปจะเป็นเดือนของนักษัตรเถาะซึ่งเริ่มประมาณวันที่ 5 มีนาคมไปจนถึงประมาณ 5 เมษายน จากนั้นจะเป็นมะโรง เริ่มจาก 5 เมษายนถึงประมาณ 6 พฤษภาคม ฯลฯ ตารางข้างล่างนี้แสดงให้เห็นว่าก้านดินทั้ง 12 สัมพันธ์กับเดือนทั้ง 12ในปฏิทินตะวันตกอย่างไร

 

ตารางก้านดินและปฏิทินตะวันตก

 

 

ก้านดินคือธาตุต่างๆ ซึ่งสามารถสะท้อนธาตุเด่นในแต่ละเดือนได้อีกด้วย เราสามารถแบ่งนักษัตรทั้ง 12 ออกเป็นสี่กลุ่ม ซึ่งแทนฤดูกาลทั้งสี่ แต่ละฤดูมีสามเดือนและสามนักษัตร ดังนั้น

ขาล เถาะ มะโรง คือฤดูใบไม้ผลิ มีธาตุไม้เป็นธาตุเด่น

มะเส็ง มะเมีย และมะแม คือฤดูร้อน มีธาตุไฟเป็นธาตุที่มีอิทธิพล 

วอก ระกา จอ คือฤดูใบไม้ร่วง เมื่อธาตุโลหะมีพลังมากที่สุด

กุน ขวด และฉลู คือเดือนในฤดูหนาว เมื่อธาตุน้ำเป็นธาตุเด่น 

ธาตุดินประกอบด้วยมะโรง จอ ฉลู และมะแม ทั้งสี่นักษัตรนี้จะปรากฎอยู่ในเดือนที่สามของแต่ละฤดู

 

ระบบ 12 นักษัตรนี้นำมาเทียบกับระบบ 12 ราศีในโหราศาสตร์ตะวันตกอย่างไร ที่จริงแล้วหลักการนั้นเหมือนกัน ทั้งสองระบบมีพื้นฐานมาจากวงกลมสมมติที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เรียกว่าสุริยวิถีหรือจักรราศี และ 12 นักษัตรหรือ 12

ราศีถูกแบ่งออกเป็น 12 ส่วนเท่าๆ กัน ส่วนละ 30 องศาเหมือนกัน อย่างไรก็ตามจุดที่ใช้ในการแบ่งนั้นแตกต่างกันในระบบทั้งสอง

 

12 นักษัตร และ 12 ราศี

 

 

ในโหราศาสตร์ตะวันตก ปีทางโหราศาสตร์จะเริ่มตรงจุดที่เรียกว่า "อิควิน็อกซ์ฤดูใบไม้ผลิ" จุดนี้จะเกิดในช่วงประมาณ วันที่ 22 มีนาคม และเป็นจุดตัดระหว่างเส้นศูนย์สูตรและสุริยวิถี วันนี้ถูกเรียกว่า “อิควิน็อกซ์ฤดูใบไม้ผลิ” เนื่องจากเป็น วันที่ช่วงเวลาในตอนกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน วันที่ 22 มีนาคมเป็นจุดเวลาที่บ่งบอกการเริ่มต้นของราศีเมษ เพราะเหตุนี้ราศีเมษจึงเป็นสัญลักษณ์ของทารกแรกเกิด และการเริ่มต้นของชีวิต จากจุดนี้ไป เราได้กำหนดสัดส่วน 30 องศา สำหรับแต่ละราศี ดังนั้นเราจะมีราศีพฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ และกันย์ ฯลฯ ระบบ 12 นักษัตรของจีนเหมือนกับระบบนี้มาก 

 

ข้อแตกต่างเพียงประการเดียวคือแทนที่จะให้ "อิควิน็อกซ์ฤดูใบไม้ผลิ" เป็นจุดเริ่มต้น ปฏิทินเซี่ยกลับเริ่มที่ช่วงหนึ่งหรือครึ่งเดือนก่อน "อิควิน็อกร์ฤดูใบไม้ผลิ" และใช้ "การมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ" เป็นจุดเริ่มตัน ซึ่งตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เหตุผลเพราะชาวจีนชอบที่จะรวมฤดูกาลทั้งสี่ที่สมบูรณ์ไว้ในปีทางสุริยคติ 

 

ดังนั้นปฏิทินเซี่ยจึงเริ่มต้นปีในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ แทนที่จะเริ่มในกลางฤดูใบไม้ผลิในวันที่ 22 มีนาคม ด้วยเหตุนี้นักษัตรแรกของเดือนซึ่งก็คือนักษัตรขาลที่จริงแล้วก็คือครึ่งเดือนในราศีกุมภ์กับครึ่งเดือนในราศีมีน และเดือนของนักษัตรเถาะก็คือครึ่งเดือนของราศีมีนและครึ่งเดือนของราศีเมษ

 

กิ่งสวรรค์ทั้ง 10 และก้านดินทั้ง 12 จะไปด้วยกันเป็นคู่ ทั้งนี้ไม่ได้มีทั้งหมด 120 คู่ แต่มีเพียง 60 คู่ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะมีกฎอยู่ว่ากิ่งสวรรค์หยางจะสามารถรวมกับก้านดินหยางได้เท่านั้น และกิ่งสวรรค์หยินก็รวมกับก้านดินหยินเพียงอย่างเดียว

 

ในระบบจีน หมายเลขคี่ถือว่าเป็นหยาง และหมายเลขคู่ถือว่าเป็นหยิน ยกตัวอย่างเช่น กิ่งสวรรค์กิ่งแรกคือธาตุไม้หยาง สามารถจับคู่ได้แต่กับชวด ขาล มะโรง มะเมีย วอก และจอเท่านั้น ทั้งหมดนี้คือนักษัตรหมายเลขคี่ในตำแหน่งที่หนึ่ง สาม ห้า เจ็ด เก้า และสิบเอ็ด ในทำนองเดียวกันกิ่งสวรรค์ที่สองคือธาตุไม้หยินจะจับคู่ได้แต่กับฉลู เถาะ มะเส็ง มะแม ระกา และกุนเท่านั้น นักษัตรเหล่านี้คือนักษัตรหมายเลขคู่ในตำแหน่งที่สอง สี่ หก แปด สิบ สิบสอง

 

เนื่องจากกิ่งสวรรค์แต่ละกิ่งสามารถจับคู่กับก้านดินได้เพียงหกก้านจึงมีจำนวนทั้งหมดรวม 60 คู่ เริ่มด้วยธาตุไม้หยางบนนักษัตรชวด จากนั้นจะเรียงไปตามลำดับของธาตุไม้หยินบนฉลู ธาตุไฟหยางบนขาล ธาตุไฟหยินบนเถาะ ธาตุดินหยางบนมะโรง ธาตุดินหยินบนมะเส็ง ธาตุโลหะหยางบนมะเมีย ธาตุโลหะหยินบนมะแม ธาตุน้ำหยางบนวอก ธาตุน้ำหยินบนระกา จากนั้นจะเริ่มชุดใหม่ของกิ่งสวรรค์ด้วยธาตุไม้หยางบนจอ ธาตุไม้หยินบนกุน ธาตุไฟหยางบนชวด ธาตุไฟหยินบนฉลู ฯลฯ หากนับต่อไปก็จะจบที่นักษัตรกุนธาตุน้ำหยินซึ่งครบวงจร 60 คู่พอดี 

 

ถ้าพูดถึงปีก็คือวงจร 60 ปี ด้วยเหตุนี้ทุกๆเมื่ออายุครบ 60 ปีจึงกลับมาสู่ปีเดียวกับปีเกิดของตัวเอง เนื่องจากคู่ธาตุคู่เดิมจะปรากฎขึ้นทุก ๆ 60 ปี และเรายังสามารถคาดได้ว่าโลกจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของธาตุแบบเดียวกันนี้ทุก ๆ 60 ปีอีกด้วย ดังนั้นประวัติศาสตร์โลกจึงมีโอกาสที่จะเกิดซ้ำในวงจร 60 ปี ลองดูที่เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นาน

 

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือปี 2001 (2544) ซึ่งเป็นปีมะเส็งธาตุโลหะหยิน เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเมื่อสหรัฐถูกโจมตีโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายในวันที่ 11 กันยายน หากเรามองย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปีก่อนในปี 1941 (2484) สหรัฐก็ถูกญี่ปุ่นเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์โดยไม่คาดฝัน การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ทำให้สหรัฐเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 และทั่วโลกก็ตกอยู่ในสงครามในปี 1942 (2485) ในทำนอง เดียวกัน หลังจากเหตุการณ์ 11กันยายน (911) ทั้งโลกเข้าร่วมลงครามต่อต้นผู้ก่อการร้ายในปี 2002 (2545) ในช่วงปีนั้นไม่เพียงแต่ประเทศอเมริกาเท่านั้น แต่ยังมีรัสเซีย อินโดนีเชีย และสเปนด้วยที่เข้าร่วมในสงครามโลกเพื่อต่อต้านผู้ก่อการร้าย ในปี 1943 (2486) นาซีพ่ายแพ้ในรัสเซียและถูกขับไล่ออกจากเลนินกราด ซึ่งเหมือนกับในปี 2003 (2546) ที่สหรัฐเริ่มโจมตีอีรัคและซัดดัม ฮุดเซน ก็ถูกล้มล้างอำนาจในปีนั้น

 

เนื่องจากคู่ของกิ่งสวรรค์และก้านดินใช้เป็นสิ่งแทนเวลา ปี เดือน วัน และยาม จึงแสดงให้เรารู้ว่าธาตุใดเป็นธาตุเด่น ในแต่ละช่วงเวลา ยกตัวอย่างเช่น ปี 2006 (2549) เป็นปีของธาตุไฟหยางบนนักษัตรจอซึ่งเป็นธาตุดิน หมายความว่า ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2006 (2549) จนถึง 4 กุมภาพันธ์ 2007 (2550) ทั้งโลกจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของธาตุไฟและธาตุดิน การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างธาตุไฟและธาตุดินในวงจรธาตุทั้งห้าทำให้เราสามารถหาข้อสรุปเพื่อพยากรณ์เหตุการณ์โลกในปี 2006 (2549) ได้

 

ปี 2006 (2549)

(丙)ไฟ

(戌) ดิน (จอ)

 

 

 

เราจะเห็นว่าในวงจรกำเนิด ธาตุไฟให้กำเนิดธาตุดิน ดังนั้นจึงเป็นความสัมพันธ์แบบแม่กับลูก ซึ่งก็คือธาตุทั้งสองสอดคล้องกัน ซึ่งหมายความว่าปี 2006 (2549) จะเป็นปีที่สงบและลงตัวกันดีเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นวงจร 60 ปีหมายความว่าคู่ของธาตุไฟหยางและนักษัตรจอธาตุดินได้ปรากฎขึ้นเมื่อ 60 ปีก่อนในปี 1946 (2489) และเราสามารถตรวจสอบเหตุการณ์ของโลกในปีที่อ้างถึงนี้ได้ ปี 1946 (2489) เป็นปีที่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและประเทศต่างๆ ได้จัดการประกาศสงบสงคราม องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศหลายองค์กร รวมไปถึงองค์กรสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นในปี 1946 (2489) ดังนั้นปีแห่งธาตุที่สอดประสานกันนี้จะนำโอกาสของความสงบและความร่วมมือกันมาให้

 

ในปี 2006 (2549) ซึ่งเป็นปีจอ มีธาตุไฟปรากฎขึ้นบนตำแหน่งของกิ่งสวรรค์ ธาตุไฟหยางเป็นธาตุไฟที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับความร้อนของดวงอาทิตย์ ดังนั้นก็จะก่อให้เกิดความร้อนและพลังงานมากมาย ในแง่ดีจะสื่อถึงความซื่อสัตย์ จิตใจที่เปิดกว้าง ความตรงไปตรงมา และจะมีเรื่องกลอุบายแอบแฝงและการลอบสังหารอย่างในปี 2004 (2547) และปี 2005(2548) น้อยลง อย่างไรก็ตามในความหมายแง่ลบอาจมีมหันตภัยครั้งใหญ่ที่เกิดจากไฟ และแม้กระทั่งอุบัติเหตุที่เกิดจากนิวเคลียร์ หายนะจากนิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลเกิดขึ้นในปี 1986 (2529) ซึ่งเป็นปีธาตุไฟหยางด้วยเช่นกัน

 

ปีจอปะทะกับนักษัตรมะโรง และต่างก็เป็นธาตุดินที่แข็งแกร่งด้วยกันทั้งคู่ การปะทะกันของธาตุดินที่แข็งแกร่งเช่นนี้มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดมหันตภัยทางดินที่รุนแรงได้ ดังนั้นปีนี้จะมีแผ่นดินไหว ตึกถล่ม แผ่นดินทรุด และอุบัติเหตุในการทำเหมือง ฯลฯ มากขึ้น และการที่มีธาตุไฟใหญ่ปรากฏขึ้นในตำแหน่งบน ก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดภูเขาไฟระเบิดในตารางที่บอกความหมายของธาตุทั้งห้าในบทที่แล้ว เราจะเห็นว่าธาตุต่างๆ  มีความสัมพันธ์กับส่วนต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย ธาตุดินคือตับอ่อน ท้อง และเชลล์ เมื่อธาตุดินที่แข็งแกร่งปรากฎขึ้น โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะส่วนนี้จะพบบ่อยมากขึ้น นักษัตรจอรวมกับอีกสองนักษัตรธาตุดินคือ ฉลู และมะแม กลายเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่เรียกว่า "สามโทษทัณฑ์" ซึ่งมักจะนำมาซึ่งโรคมะเร็ง ดังนั้นโรคมะเร็งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นในปี 2006 (2549) ธาตุไฟหยางยังสื่อถึงไหล่ ดังนั้นในปี 2006 (2549) หลายๆ คนอาจจะมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับไหล่ นอกจากนี้ธาตุไฟและธาตุดินเป็นคู่ธาตุแห้งและไม่มีน้ำอยู่เลย ดังนั้นปีนี้อาจเป็นปีที่แห้งแล้ง ต้นพืชอาจตายง่าย สำหรับร่างกายมนุษย์อาจจะผมร่วง เนื่องจากผมเป็นธาตุไม้ซึ่งจำเป็นต้องมีน้ำ

 

ปีจอคือสุสานไฟ เป็นนักษัตรที่แทนยามมืดในช่วงเวลาระหว่าง 19 ถึง 21 นาฬิกาหลังพระอาทิตย์ตก จึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “ประตูนรก” ปีจอมักจะนำเรื่องเกี่ยวกับจิตวิญญาณมาให้ ดังนั้นการพูดคุยเรื่องศาสนา เหตุการณ์แปลกๆ จะโดดเด่นมากในปีนี้

 

สำหรับด้านเศรษฐกิจ เรายังสามารถพยากรณ์โดยอ้างอิงจากวงจรกำเนิดและวงจรทำลายของธาตุทั้งห้าได้อีกด้วย ปี 2006 (2549) เป็นปีที่ดีสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธาตุไม้ ซึ่งได้แก่ สิ่งทอ กระดาษ สิ่งพิมพ์ กสิกรรม พืช และสมุนไพร เหตุผลคือ ธาตุไม้สร้างธาตุไฟและกำราบธาตุดิน ปีจอจึงแสดงให้เห็นว่าธาตุไม้คือธาตุที่เสริมสร้างและธาตุที่ทำลาย ดั่งนั้นอุตสาหกรรมที่เป็นธาตุไม้จะอยู่ในช่วงปีแห่งชัยชนะ ธุรกิจอื่นๆ ที่จัดว่าไม่เลวคือธุรกิจธาตุไฟ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังงาน ไฟฟ้า การเงิน เนื่องจากธาตุไฟสร้างธาตุดินดังนั้นจะอยู่ในช่วงปีแห่งการเสริมสร้าง ธุรกิจธาตุน้ำ ได้แก่ ธุรกิจการขนส่งสินค้า การคมนาคม และการติดต่อสื่อสารก็ไม่เลว เพราะธาตุน้ำกำราบธาตุไฟ และยังเป็นปีที่ธุรกิจธาตุน้ำจะมีเม็ดเงินเพิ่มมากขึ้นด้วย

 

ภาคธุรกิจที่ไม่ค่อยดีนักคือธาตุโลหะและธาตุดิน ธุรกิจเหล่านี้ได้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชั้นสูง วิศวกรรม เครื่องจักร อสังหาริมทรัพย์ การทำเหมือง เนื่องจากธาตุไฟและธาตุดินไม่มีความเกี่ยวพันกับการเสริมสร้างและด้านเงินทอง ของธาตุดินและธาตุโลหะ การจะให้ธุรกิจธาตุโลหะได้รับการเสริมสร้างและทำเงินได้นั้นจะต้องมีธาตุน้ำและธาตุไม้

ส่วนการที่จะให้ธุรกิจธาตุดินได้รับการเสริมสร้างและทำเงินได้จะต้องมีธาตุน้ำและธาตุโลหะ แต่ธาตุทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีอยู่ในปี 2006 (2549)

 

 

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงตัวอย่างง่ายๆ ในการหาข้อสรุปจากความหมายต่างๆ ด้วยการใช้คู่ธาตุที่ปรากฎขึ้นในปฏิทิน นี่คือแก่นของการทำนายโชคชะตาโดยอิงจากธาตุทั้งห้า ไม่มีอะไรมากไปกว่าการหาข้อสรุปที่สอดคล้องตามหลักของเหตุและผลโดยมีพื้นฐานอยู่บนวงจรกำเนิดและวงจรทำลายของธาตุทั้งห้าอีกแล้ว ที่ผ่านมาเราเพียงแต่พิจารณาตัวอย่างของคู่ธาตุหนึ่งคู่ แต่สำหรับข้อมูลการเกิดของบุคคล เรามีคู่ธาตุถึงสี่คู่และปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างตัวอักษรจีนทั้งแบ่ดที่อยู่ในคู่ธาตุทั้งสี่นี้สามารถให้ข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับตัวบุคคลได้อย่างเหลือเชื่อ ดังนั้นจตุสดมภ์ก็แห่งโชคชะตาจึงเป็นระบบที่มีความล้ำลึกและแม่นยำในการทำนายโชคชะตาโดยอยู่บนพื้นฐานของการหาข้อสรุปที่เป็นเหตุผลด้วยการทำความเข้าใจเรื่องธาตุทั้งห้าและความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างธาตุต่างๆ นี้

 

Visitors: 178,271